3 วิธีการตรวจสอบ Sender Email ว่าเป็นอีเมลของหน่วยงานที่ติดต่อมาจริงๆ หรือเป็นมิจฉาชีพแอบแฝง

3 วิธีการตรวจสอบ Sender Email ว่าเป็นอีเมลของหน่วยงานที่ติดต่อมาจริงๆ หรือเป็นมิจฉาชีพแอบแฝง

ในทุกวันนี้เรามักจะพบเจอเคสมีมิจฉาชีพใช้วิธีการการส่งอีเมลปลอม หรือแฮกอีเมล เพื่อใช้กลลวงในการหลวกหลงทรัพย์สิน หรือเป็นการแทรกลิงค์เพื่อติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ดังนั้นเมื่อเราได้รับอีเมลที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินและการเงิน ให้ทำการตรวจสอบรายละเอียดดังนี้

1. ตรวจสอบไปยังผู้เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบไปยังผู้เกี่ยวข้อง เช่นการพูดคุยโทรศัพท์ หรือวิดีโอคอล โดยสอบถามให้ชัดเจนว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัญชี หรือช่องทางการชำระเงินจริงหรือไม่

2. ตรวจสอบข้อมูล Email

ตรวจสอบ Email Address และตรวจสอบข้อมูลผ่านรายละเอียดของผู้ส่ง ให้ละเอียดทุกตัวอักษร ทุกครั้ง ว่าตรงกับบัญชีอีเมลที่เราต้องการติดต่อด้วยจริงหรือไม่ และทำการตรวจสอบ Domain Name ว่าถูกต้องทั้งหมดทั้งตัวอักษร เช่น หน่วยงานที่ต้องการติดต่อใช้ชื่อโดเมนว่า @abcd.com แต่อีเมลที่ติดต่อมานั้นใช้ชื่อโดเมนว่า @adcd.com ให้สงสัย และทำการตรวจสอบกับหน่วยงานหลัก

3. ตรวจสอบเนื้อหาของอีเมล

ตรวจสอบเนื้อหาของอีเมล โดยเนื้อหาจะต้องไม่เป็นการขอข้อมูลส่วนตัว หรือเป็นการกดลิงค์ หรือการยินยอมให้เข้าถึงอุปกรณ์ หรือยินยอมให้เชื่อมต่อกับบัญชีของเรา รวมไปถึงการแนบไฟล์มาในอีเมล หากไฟล์ที่แนบมานั่น เป็นไฟล์ประเภทแปลกๆ ให้งดการกดดาวน์โหลด จนกว่าจะมีการตรวจสอบผู้ส่งต้องการส่งไฟล์นั้นๆ มาจริงๆ